วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

06:31
2.10 สรุปท้ายบท
            ภาษา  C  เป็นภาษาที่มีมาตรฐานในการเขียนโปรแกรมที่ชื่อว่า  ANSI (American  National  Standards  Institute)  และภาษา  C  เป็นภาษาที่มีใช้มาเป็นเวลานาน  โดยมีโครงสร้างอย่างง่ายพอสรุปได้ดังนี้
            1. มีฟังก์ชันชื่อว่า  main( )  อย่างน้อยหนึ่งฟังก์ชัน  จึงจะสามารถทำการ  execute  program  ได้
            2. ขอบเขตฟังก์ชัน  main  (delimiters)  ในโปรแกรมภาษา  C  ใช้เครื่องหมาย  {  แทนการเริ่มต้นฟังก์ชัน  และใช้เครื่องหมาย  }  แทนการสิ้นสุดฟังก์ชัน  ดังนั้นเมื่อเขียนฟังก์ชัน  main( )  ทุกครั้งจะต้องมีเครื่องหมาย  {  และ  }  อยู่ด้วยเสมอ
            3. การปิดท้ายคำสั่งในภาษา C จะต้องใช้เครื่องหมาย ; (semicolon) เป็นการบ่งชี้ให้ C  compiler  ทราบว่าจบคำสั่ง  (statement)  แต่ละคำสั่งแล้ว
            4. ชื่อฟังก์ชันและคำสั่งในภาษา  C  จะต้องเขียนด้วยตัวอักษรตัวเล็ก  (lowercase letter) ทั้งหมดทั้งนี้เพราะ  C  compiler จะคิดว่าตัวอักษรตัวใหญ่  (uppercase letter)  กับตัวอักษรตัวเล็ก แตกต่างกัน  เช่น  main( ) ไม่เหมือนกับ Main( )  หรือ MAIN( )  เป็นต้น
            5. ชื่อตัวแปร  (variable name)  สามารถตั้งชื่อโดยใช้ ตัวอักษรตัวเล็กหรือตัวอักษรตัวใหญ่ก็ได ้หรือใช้ตัวอักษรตัวเล็ก กับตัวอักษรตัวใหญ่ผสมกันก็ได้
            สำหรับขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษา  C  มีขั้นตอนสรุปได้ดังนี้คือ 
  1. ขั้นตอนเขียนโปรแกรมต้นฉบับ  (source  program)   แล้วบันทึกโปรแกรมพร้อมกับตั้งชื่อแฟ้มไว้ แฟ้มที่ได้จะมีนามสกุล  *.c  หรือ  *.cpp
  2. ขั้นตอนแปลโปรแกรมภาษา  C  ไปเป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง  (object  program) ใช้คำสั่ง  compile  เพื่อแปลโปรแกรมภาษา  C  ไปเป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง แฟ้มที่ได้จะมีนามสกุล  *.obj  ซึ่งในขั้นตอนนี้โปรแกรมต้นฉบับอาจเกิดความผิดพลาดทางไวยกรณ์ภาษา  (syntax  error)  ขึ้นได้  จึงต้องย้อนกลับไปแก้ไขโปรแกรมต้นฉบับในข้อ  1.  ให้ถูกต้องเสียก่อน
  3. ขั้นตอนเชื่อมโยง  (link)  โปรแกรมภาษาเครื่องเข้ากับ  library  function  ของภาษา  C  จะได้เป็น  execute  program  โดยใช้คำสั่ง  link  แฟ้มที่ได้จะมีนามสกุล  *.exe
  4. ขั้นตอนสั่งให้  execute  program   แสดงผลลัพธ์ออกมา โดยใช้คำสั่ง  run
            สำหรับข้อมูลของภาษา  C  มีดังนี้คือ  ตัวอักขระ  ค่าคงที่  และตัวแปร  ซึ่งในภาษา  C  ยังมีตัวดำเนินการหรือเครื่องหมาย  เพื่อไว้ใช้ในการเขียนโปรกรม  ดังนี้  ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์  ตัวดำเนินการความสัมพันธ์  ตัวดำเนินการเชิงตรรกะ  ตัวดำเนินการเพิ่มค่าและลดค่า  ตัวดำเนินการบิตไวส์  ตัวดำเนินการกำหนดค่า  และตัวดำเนินการแบบเงื่อนไข  ซึ่งลำดับการทำงานของตัวดำเนินการ มีความสำคัญในการเขียนโปรแกรม 
                                                                                                            เนื้อหาสุดท้ายในบทนี้จะกล่าวถึงการแปลงชนิดข้อมูลภาษา  C  ซึ่งเป็นกฏเกณฑ์ในการแปลงชนิดข้อมูล ในกรณีข้อมูลต่างชนิดกันคือ  ถ้าค่าตัวแปร  หรือค่าคงที่ต่างชนิดกัน  ให้ทำการเปลี่ยนชนิดของข้อมูลที่มีขนาดเล็กให้เป็นชนิดของข้อมูลที่ใหญ่

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น