วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

06:23


1.3 สรุปท้ายบท
            ความรู้พื้นฐานในการเขียนโปแกรม มีเนื้อหาเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรม ทราบขั้นตอนวิธีการก่อนที่จะเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์  ผู้เขียนโปรแกรมควรศึกษาขั้นตอนวิธีการทางคอมพิวเตอร์   เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามขั้นตอนวิธีดังนี้
  1. การวิเคราะห์งาน  (job analysis)  จะต้องกำหนดจุดประสงค์ของการวิเคราะห์งาน  และขั้นตอนวิธีการวิเคราะห์งานแต่ละอย่างให้ได้
  2. การเขียนผังงานโปรแกรม  (program flowcharting)  เป็นการเขียนแผนภาพโดยใช้สัญลักษณ์มาตรฐานทางคอมพิวเตอร์  เพื่อแสดงขั้นตอนวิธีการทำงานของโปรแกรมหรือระบบงานตามที่เราได้วิเคราะห์งานไว้
  3. การเขียนโปรแกรม  (programming)  เป็นการเขียนชุดคำสั่งภาษาใดภาษาหนึ่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ  ตามแผนผังที่เราได้เขียนไว้
  4. การทดสอบ  และแก้ไขโปรแกรม  (testing and editing program)  ภายหลังจากที่เราได้เขียนโปรแกรมแล้วจะต้องมีการทดสอบโปรแกรมที่เขียนขึ้นว่ามีความผิดพลาดทางไวยากรณ์ภาษา  หรือมีความผิดพลาดทางตรรกะหรือไม่อย่างไร  แล้วแก้ไขโปรแกรมที่ผิดให้ได้โปรแกรมที่ถูกต้องสมบูรณ์
  5. การจัดทำเอกสารประกอบ และการบำรุงรักษาโปรแกรม (documentation and maintenance program) ภายหลังจากได้ทำการทดสอบโปรแกรมและแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ควรจัดทำคู่มือการใช้โปรแกรม    เพราะจะทำให้ผู้ใช้โปรแกรมสามารถใช้งานได้ถูกต้อง    โดยคู่มือการใช้โปรแกรมที่ดีควรจัดทำในลักษณะที่แสดงการทำงานเป็นขั้นตอน    ผู้ใช้โปรแกรมสามารถปฏิบัติตามได้จริง  ส่วนการบำรุงรักษาโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นก็ต้องมีคำแนะนำให้ผู้ใช้โปรแกรมปฏิบัติได้
            สำหรับเนื้อหาส่วนท้ายในบทนี้ต้องการให้ทราบถึงโครงสร้างภายในโปรแกรม เพราะจะช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรม สามารถเลือกใช้คำสั่งให้สอดคล้องกับโครงสร้างภายในโปรแกรมได้  และให้ทราบถึงลักษณะการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง  ที่มีการนำโครงสร้างของคำสั่งหลาย ๆ รูปแบบมาใช้ในการเขียนโปรแกรม  เพื่อให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นมีขั้นตอนที่แน่นอน  และสะดวกต่อการแก้ไขโปรแกรม

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น