ฟังก์ชันพื้นฐานที่ใช้งานอยู่เป็นประจำในการเขียนโปรแกรมนั้นคือ ฟังก์ชันรับข้อมูลและฟังก์ชันแสดงผลข้อมูล โดยฟังก์ชันรับข้อมูลมีดังต่อไปนี้
1. ฟังก์ชัน scanf( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดเข้าไปเก็บไว้ในตัวแปรที่กำหนดไว้โดยสามารถรับข้อมูลที่เป็นตัวเลขจำนวนเต็ม ตัวเลขทศนิยม ตัวอักขระตัวเดียว หรือข้อความก็ได้
2. ฟังก์ชัน getchar( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลจากคีย์บอร์ดเพียง 1 ตัวอักขระ โดยการรับข้อมูลของฟังก์ชันนี้จะต้องกดแป้น enter ทุกครั้งที่ป้อนข้อมูลเสร็จ จึงทำให้เห็นข้อมูลที่ป้อนปรากฏบนจอภาพด้วย ถ้าต้องการนำข้อมูลที่ป้อนผ่านทางคีย์บอร์ดไปใช้งาน จะต้องกำหนดตัวแปรชนิด single character (char) ขึ้นมา 1 ตัว เพื่อเก็บค่าข้อมูลที่รับผ่านทางคีย์บอร์ด ในทางตรงกันข้ามถ้าไม่ต้องการใช้ข้อมูลที่ป้อนผ่านทางคีย์บอร์ดก็ไม่ต้องกำหนดตัวแปรชนิด char ขึ้นมา
3. ฟังก์ชัน getch( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลเพียง 1 ตัวอักขระเหมือนกับฟังก์ชัน getchar( ) แตกต่างกันตรงที่เมื่อใช้ฟังก์ชันนี้รับข้อมูล ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปจะไม่ปรากฏให้เห็นบนจอภาพและไม่ต้องกดแป้น enter ตาม
4. ฟังก์ชัน getche( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลจากคีย์บอร์ดเพียง 1 ตัวอักขระ เหมือนฟังก์ชัน getch( ) แตกต่างกันตรงที่ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปจะปรากฏให้เห็นบนจอภาพด้วย นอกนั้นมีการทำงานและลักษณะการใช้งานเหมือนฟังก์ชัน getch( ) ทุกประการ
5. ฟังก์ชัน gets( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลชนิดข้อความ (string) จากคีย์บอร์ด จากนั้นนำข้อมูลที่รับเข้าไปเก็บไว้ในตัวแปรสตริง (string variables) ที่กำหนดไว้
สำหรับฟังก์ชันแสดงผลข้อมูลมีดังต่อไปนี้ฟังก์ชัน printf( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพ โดยสามารถกำหนดรหัสรูปแบบข้อมูล (format code) และรหัสควบคุม (control code) ให้เหมาะสมกับข้อมูลและรูปแบบผลลัพธ์ที่ต้องการ
1. ฟังก์ชัน scanf( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดเข้าไปเก็บไว้ในตัวแปรที่กำหนดไว้โดยสามารถรับข้อมูลที่เป็นตัวเลขจำนวนเต็ม ตัวเลขทศนิยม ตัวอักขระตัวเดียว หรือข้อความก็ได้
2. ฟังก์ชัน getchar( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลจากคีย์บอร์ดเพียง 1 ตัวอักขระ โดยการรับข้อมูลของฟังก์ชันนี้จะต้องกดแป้น enter ทุกครั้งที่ป้อนข้อมูลเสร็จ จึงทำให้เห็นข้อมูลที่ป้อนปรากฏบนจอภาพด้วย ถ้าต้องการนำข้อมูลที่ป้อนผ่านทางคีย์บอร์ดไปใช้งาน จะต้องกำหนดตัวแปรชนิด single character (char) ขึ้นมา 1 ตัว เพื่อเก็บค่าข้อมูลที่รับผ่านทางคีย์บอร์ด ในทางตรงกันข้ามถ้าไม่ต้องการใช้ข้อมูลที่ป้อนผ่านทางคีย์บอร์ดก็ไม่ต้องกำหนดตัวแปรชนิด char ขึ้นมา
3. ฟังก์ชัน getch( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลเพียง 1 ตัวอักขระเหมือนกับฟังก์ชัน getchar( ) แตกต่างกันตรงที่เมื่อใช้ฟังก์ชันนี้รับข้อมูล ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปจะไม่ปรากฏให้เห็นบนจอภาพและไม่ต้องกดแป้น enter ตาม
4. ฟังก์ชัน getche( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลจากคีย์บอร์ดเพียง 1 ตัวอักขระ เหมือนฟังก์ชัน getch( ) แตกต่างกันตรงที่ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปจะปรากฏให้เห็นบนจอภาพด้วย นอกนั้นมีการทำงานและลักษณะการใช้งานเหมือนฟังก์ชัน getch( ) ทุกประการ
5. ฟังก์ชัน gets( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้รับข้อมูลชนิดข้อความ (string) จากคีย์บอร์ด จากนั้นนำข้อมูลที่รับเข้าไปเก็บไว้ในตัวแปรสตริง (string variables) ที่กำหนดไว้
สำหรับฟังก์ชันแสดงผลข้อมูลมีดังต่อไปนี้ฟังก์ชัน printf( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพ โดยสามารถกำหนดรหัสรูปแบบข้อมูล (format code) และรหัสควบคุม (control code) ให้เหมาะสมกับข้อมูลและรูปแบบผลลัพธ์ที่ต้องการ
- ฟังก์ชัน putchar( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ออกจอภาพทีละ 1 ตัวอักขระ โดยลักษณะของฟังก์ชันนี้เป็นฟังก์ชันที่ต้องการ argument 1 ค่าที่เป็นข้อมูลชนิด single character (char)
- ฟังก์ชัน puts( ) เป็นฟังก์ชันที่พิมพ์ข้อความออกแสดงทางจอภาพ โดยลักษณะของฟังก์ชันนี้เป็นฟังก์ชันที่ต้องการ argument 1 ค่าที่เป็นชนิดข้อความ (string constant)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น