ฟังก์ชันที่เขียนขึ้นหรือบางครั้งเราเรียกว่าโปรแกรมย่อย คือ ส่วนของโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างใดอย่างหนึ่งตามความต้องการ สำหรับผู้เขียนโปรแกรมภาษา Cนิยมเรียกโปรแกรมย่อยว่า ”ฟังก์ชัน” ส่วนผู้ที่เขียนโปรแกรมภาษาปาสคาล โคบอล ฟอร์แทรน เบสิก นิยมเรียกว่า ”โปรแกรมย่อย” อย่างไรก็ตามโปรแกรมย่อยหรือฟังก์ชันก็มีลักษณะการทำงานเหมือนกัน เพียงแต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้นสำหรับในเอกสารนี้จะเรียกว่า ฟังก์ชัน ซึ่งในเนื้อหาส่วนนี้ จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับฟังชันที่เขียนขึ้น (user define functions : UDF) ตั้งแต่การประกาศรูปแบบฟังก์ชัน การเขียนตัวฟังก์ชันและการเรียกใช้ฟังก์ชันเพื่อให้สามารถใช้ฟังก์ชันที่เขียนขึ้นในโปรแกรมภาษา C ได้อย่างถูกต้อง
ตัวอย่างที่ 7.4 แสดงฟังก์ชันที่เขียนขึ้นเพื่อใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
void asterisk_line( ) {
int j, n=30;
for(j=1; j<=n; j++)
printf(“*”);
}
ฟังก์ชัน asterisk_line( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้พิมพ์เครื่องหมาย * (asterisk) จำนวน 30 ตัวออกทางจอภาพ
7.2.1 ประเภทของฟังก์ชันที่เขียนขึ้น
(types of user defined functions )
(types of user defined functions )
ในการเขียนฟังก์ชันขึ้นมาใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เราสามารถจำแนกฟังก์ชันที่เขียนขึ้นตามลักษณะการส่งค่าไปและรับค่ากลับได้ 3 แบบ คือ
1) ฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งค่าไปและรับค่ากลับ
2) ฟังก์ชันที่มีการส่งค่าไปแต่ไม่มีรับค่ากลับ
3) ฟังก์ชันที่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับ
ซึ่งฟังก์ชันแต่ละแบบก็เหมาะกับงานแต่ละอย่าง ดังนั้นผู้เขียนฟังก์ชันจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาทำความเข้าใจฟังก์ชันแต่ละแบบ เพื่อจะได้มาประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างเหมาะสม
7.2.2 โครงสร้างของฟังก์ชัน (the structure of functions)
ฟังก์ชันที่สร้างขึ้นมาแต่ละฟังก์ชันจะประกอบด้วยโครงสร้างดังนี้
รูปแบบโครงสร้างของฟังก์ชันในภาษา C
type function_name(type1 arg1, type2 arg2,.., typeN argN)
{
local variable declaration;
statement(s);
return( varlue);
}
โดยที่
type คือ ชนิดของข้อมูลที่ส่งกลับมายังชื่อฟังก์ชันที่เรียกใช้ โดยปกติแล้วถ้าไม่มีการกำหนด type ว่าเป็นชนิด int, float, char หรือ double จะได้ค่าข้อมูลที่ส่งกลับมาเป็นชนิด int เสมอ ยกเว้นว่าฟังก์ชันนั้นไม่มีการส่งค่ากลับจะต้องกำหนดให้ type เป็น void
function_name คือ ชื่อฟังก์ชัน ซึ่งเราสามารถตั้งชื่อฟังก์ชันโดยอาศัยกฎเกณฑ์ของการตั้งชื่อตัวแปรในภาษาซี
type1 arg1, type2 arg2,…, typeN argN คือ การประกาศชื่อและชนิดของตัวแปรที่จะใช้เป็น argument ตัวที่ 1, 2, 3,…, N ตามลำดับ ถ้าเป็นฟังก์ชันที่ไม่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับเลย ให้ใช้คำว่า void แทน
{ คือ จุดเริ่มต้นของฟังก์ชัน
} คือจุดสิ้นสุดของฟังก์ชัน
local variable declaration คือ การประกาศชนิดและชื่อของตัวแปรที่ใช้ได้เฉพาะภายในฟังก์ชัน ถ้าอยู่นอกฟังก์ชันจะไม่สามารถใช้ตัวแปร local ที่ประกาศไว้ได้
statement(s) คือ คำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในฟังก์ชัน ถ้ามีมากกว่า 1 คำสั่งให้จบท้ายแต่ละคำสั่งด้วยเครื่องหมาย ; (semicolon)
return(value) คือ คำสั่งที่ใช้ส่งค่ากลับไปยังชื่อฟังก์ชันที่เรียกใช้ ส่วน value ที่อยู่ภายใน ( ) คือ ค่าที่จะถูกส่งกลับ คำสั่งนี้จะใช้เฉพาะฟังก์ชันที่มีการส่งค่ากลับเท่านั้น ถ้าเป็นฟังก์ชันที่ไม่มีทั้งการส่งค่าไปและกลับ หรือเป็นฟังก์ชันชนิดที่มีแต่การส่งค่าไปอย่างเดียว ก็ไม่ต้องใช้คำสั่งนี้
โปรแกรมตัวอย่างที่ 7.10 แสดงโครงสร้างของฟังก์ชัน
/* funct1.c */ | ||||
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
คำอธิบายโปรแกรม
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.10 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.10 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
บรรทัดที่ 3 และ 4 คำสั่ง void one(void); และ void two(void); คำสั่งประกาศชื่อฟังก์ชันและชนิดของการส่งค่ากลับมายังฟังก์ชัน ซึ่งในกรณีนี้ทั้งฟังก์ชัน one( ) และ two( ) เป็นฟังก์ชันชนิดที่ไม่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับ เนื่องจากคำว่า void ที่อยู่หน้าชื่อฟังก์ชัน one( ) และ two( ) เป็นการบอกว่าไม่มีการรับค่าที่ส่งกลับ ส่วนคำว่า void ที่อยู่ภายใน ( ) ของฟังก์ชัน one( ) และ two เป็นการบอกว่าไม่มี argument นั่นคือไม่มีการส่งค่าไปนั่นเอง
ข้อสังเกต การประกาศชื่อและชนิดของฟังก์ชันจะต้องประกาศไว้ก่อนฟังก์ชัน main( ) เพราะจะทำให้เราสามารถใช้ฟังก์ชันที่ประกาศไว้ในส่วนใดของโปรแกรมก็ได้
บรรทัดที่ 8 และ 9 คำสั่ง one( ); และ two( ); เป็นการเรียกใช้ฟังก์ชันชื่อ one( ) และ two( ) ตามลำดับ โดยฟังก์ชัน one( ) อยู่ที่คำสั่งบรรทัดที่ 14 ถึง 18 และ ฟังก์ชัน two( ) อยู่ที่บรรทัดที่ 20 ถึง 25
บรรทัดที่ 14 ถึง 18 ฟังก์ชัน one( ) ให้พิมพ์ค่าที่เก็บไว้ในตัวแปร a และ b แสดงที่จอภาพ
บรรทัดที่ 20 ถึง 25 ฟังก์ชัน two( ) ให้พิมพ์ค่าที่เก็บไว้ในตัวแปร p และ q และพิมพ์ค่าตัวแปร q แสดงที่จอภาพ
บรรทัดที่ 10 และ 11 ภายหลังจากทำงานตามฟังก์ชัน one( ) และ two( ) แล้ว พิมพ์ข้อความให้กดคีย์ใด ๆ เพื่อกลับสู่โปรแกรม และหยุดรอรับค่าใด ๆ เช่น กด enter จะกลับเข้าสู่โปรแกรม
เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของฟังก์ชันมากยิ่งขึ้น จากโปรแกรม funct1.c สามารถอธิบายการทำงานได้ดังนี้ (ดูรูปที่ 7.1 ประกอบ)
โปรแกรมหลัก ฟังก์ชัน one( )
ฟังก์ชัน two( )
รูปที่ 7.1 แสดงการทำงานระหว่างโปรแกรมหลักกับฟังก์ชันที่เขียนขึ้น
7.2.3 การเรียกใช้ฟังก์ชัน (calling the function)
การเรียกใช้ฟังก์ชันที่เขียนขึ้นมาใช้งานสามารถทำได้โดย เรียกชื่อฟังก์ชันนั้นแล้วตามด้วย argument ของฟังก์ชัน (ถ้ามี) จากนั้นปิดท้ายด้วยเครื่องหมาย ; ซึ่งจะมีผลทำให้ย้ายการทำงานจากโปรแกรมหลักไปยังฟังก์ชันที่ถูกเรียกใช้ทันที
รูปแบบการใช้ฟังก์ชันในภาษา C
รูปแบบการใช้ฟังก์ชันในภาษา C
funct_name (argument_list);
โดยที่
funct_name คือ ชื่อฟังก์ชันที่ต้องการใช้งาน
argument_list คือชื่อตัวแปรหรือนิพจน์หรือค่าคงที่ที่ใช้ส่งค่าไป ถ้ามีมากกว่า 1 argument ให้ใช้เครื่องหมาย , (comma) คั่นระหว่าง argument แต่ละค่า เช่น จากตัวอย่างโปรแกรม funct1.c มีคำสั่งที่เรียกใช้ฟังก์ชัน คือ คำสั่ง one( ); และ two( ); ซึ่งอยู่ในโปรแกรมหลักคือฟังก์ชัน main( )
7.2.4 การประกาศรูปแบบฟังก์ชัน (function prototype)
ฟังก์ชันในภาษา C มีลักษณะการใช้งานเหมือนกับตัวแปร ถ้าเราต้องการจะใช้ตัวแปรตัวใดจะต้องประกาศชนิดและชื่อตัวแปรเสียก่อนจึงจะสามารถนำตัวแปรที่ประกาศไว้มาใช้งานได้ ทำนองเดียวกันฟังก์ชันก็เช่นกันจะต้องมีการประกาศชื่อและชนิดของฟังก์ชันเสียก่อน จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้
รูปแบบการประกาศฟังก์ชันในภาษา C
รูปแบบการประกาศฟังก์ชันในภาษา C
type funct_name( type1, type2,….., typeN);
หรือ
type funct_name( type1 arg1, type2 arg2,….., typeN argN);
โดยที่
ข้อควรจำ สำหรับตำแหน่งที่จะใช้ประกาศรูปแบบฟังก์ชัน ควรเป็นตำแหน่งที่อยู่เหนือฟังชัน main( ) เพราะจะทำให้สามารถเรียกใช้ฟังก์ชันที่ประกาศไว้แล้วในส่วนใด ๆ ของโปรแกรมก็ได้
type คือ ชนิดของค่าข้อมูลที่ส่งกลับมายังฟังก์ชัน ถ้าไม่ระบุจะเป็นชนิด int เสมอ ถ้าไม่มีการส่งค่ากลับให้ใช้คำว่า void
funct_name คือชื่อฟังก์ชัน ซึ่งเราสามารถตั้งชื่อฟังก์ชันโดยใช้กฎเกณฑ์เดียวกันกับการตั้งชื่อตัวแปร
type1, type2,….., typeN คือ ชนิดของ argument ตัวที่ 1, 2, 3,…, N ตามลำดับ
arg1, arg2,….., argN คือ ชื่อ argument ที่ใช้ในการส่งค่าไปตัวที่ 1, 2, 3,…, N ตามลำดับ
ตัวอย่างที่ 7.5 แสดงการประกาศรูปแบบฟังก์ชัน
1) float add(int, float);
2) int sum(int p, int q); หรือ int sum(int, int);
3) void move(int, float, int);
4) float calculate(float, float);
5) void point(int*, int*, float); แสดงว่า argumant ตัวที่ 1 และ 2 เป็นตัวแปรพอยน์เตอร์ argument ตัวที่ 3 เป็น float
โปรแกรมตัวอย่างที่ 7.11 แสดงการประกาศรูปแบบของฟังก์ชัน
/* funct2.c */ | ||||
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
คำอธิบายโปรแกรม
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.11 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.11 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
บรรทัดที่ 3 คำสั่ง int max (int, int); การประกาศรูปแบบฟังก์ชัน
บรรทัดที่ 8 คำสั่ง m = max(p, q); เป็นการเรียกใช้งานฟังก์ชัน max( ) พร้อมทั้งส่งค่า argument ค่าตัวแปร p และ q ไปให้ด้วย ซึ่งภายหลังจากทำงานในฟังก์ชัน max( ) แล้ว ได้ค่าอะไรให้เก็บไว้ที่ตัวแปร m
บรรทัดที่ 13 ถึง 16 เป็นฟังก์ชัน max( ) ซึ่งมีการทำงานคือ สำหรับนิพจน์ (a>b? a : b) ที่อยู่ในฟังก์ชัน return( ) หมายความว่า ถ้าเงื่อนไข a>b เป็นจริง ให้ส่งค่าของตัวแปร a กลับไปยังฟังก์ชันที่เรียกมา แต่ถ้าเงื่อนไข a>b เป็นเท็จ ให้ส่งค่าของตัวแปร b กลับไปยังฟังก์ชันที่เรียกมา
บรรทัดที่ 10 หยุดรอรับค่าใด ๆ เช่น กด enter จะกลับเข้าสู่โปรแกรม
7.2.5 ฟังก์ชันที่ไม่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับ
การประกาศฟังก์ชันนี้จะมีชนิดเป็น void และภายในเครื่องหมาย ( ) จะมีคำว่า void อยู่แสดงว่าไม่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับ นอกจากนี้ในโครงสร้างของฟังก์ชันชนิดนี้จะไม่มีคำสั่ง return(value);
1) การประกาศฟังก์ชันที่ไม่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับ
รูปแบบการประกาศฟังก์ชัน
void funct_name(void );
หรือ
void funct_name( );
เช่น void one(void); หรือ void one( ); เป็นต้น
2) โครงสร้างของฟังก์ชันแบบไม่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับ
รูปแบบโครงสร้างฟังก์ชัน
void funct_name(void);
{
local variable decaration;
statement(s);
}
เพื่อความเข้าใจการใช้งานฟังก์ชันที่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับมา มากยิ่งขึ้น ให้ศึกษาโปรแกรมตัวอย่างต่อไปนี้
โปรแกรมตัวอย่างที่ 7.12 แสดงการฟังก์ชันที่ไม่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับ
/* funct3.c */ | ||||
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
คำอธิบายโปรแกรม
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.12 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.12 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
บรรทัดที่ 3 คำสั่ง void asterisk_line (void); แสดงว่าฟังก์ชันชื่อ asterisk_line( ) เป็นฟังก์ชันที่ไม่มีทั้งการส่งค่าไป และรับค่ากลับ
บรรทัดที่ 7 และ 9 เป็นคำสั่งเรียกใช้ฟังก์ชัน asterisk_line( ) ซึ่งฟังก์ชันอยู่คำสั่งบรรทัดที่ 14 ถึง 19
บรรทัดที่ 14 ถึง 19 ฟังก์ชัน asterisk_line( ) มีการทำงานโดยพิมพ์ * จำนวน 40 ตัวออกแสดงที่จอภาพ
บรรทัดที่ 10 และ 11 พิมพ์ข้อความให้กดคีย์ใด ๆ เพื่อกลับสู่โปรแกรม และหยุดรอรับค่าใด ๆ เช่น กด enter จะกลับเข้าสู่โปรแกรม
7.2.6 ฟังก์ชันที่มีการส่งค่าไปแต่ไม่มีการรับค่ากลับ
การประกาศฟังก์ชันชนิดนี้ มีชนิดเป็น void แต่ภายในเครื่องหมาย ( ) จะมีชนิดของ argument ปรากฏอยู่ตามปกติ ส่วนโครงสร้างของฟังก์ชันชนิดนี้จะไม่มีคำสั่ง return(value);
1) การประกาศฟังก์ชันที่มีการส่งค่าไปแต่ไม่มีการรับค่ากลับ
รูปแบบการประกาศฟังก์ชัน
void funct_name(type1, type2,….., typeN);
หรือ
void funct_name( type1 arg1, type2 arg2,….., typeN argN);
ตัวอย่างที่ 7.6 แสดงการประกาศฟังก์ชัน
void multiply(int, int);
void add(float, int);
void a(int*, int);
2) โครงสร้างของฟังก์ชันที่มีการส่งค่าไปแต่ไม่มีการรับค่ากลับ
รูปแบบโครงสร้างฟังก์ชัน
void funct_name( type1 arg1, type2 arg2,….., typeN argN);
{
local variable declaration;
statement(s);
}
เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ฟังก์ชันที่มีการส่งค่าไปแต่ไม่มีการรับค่ากลับ มากยิ่งขึ้น ให้ศึกษาจากโปรแกรมตัวอย่าง 7.13 และ 7.14 ต่อไปนี้
โปรแกรมตัวอย่างที่ 7.13 แสดงฟังก์ชันที่มีทั้งการส่งค่าไปแต่ไม่มีการรับค่ากลับ โดยการส่งค่าตัวเลขไปยังฟังก์ชัน
/* pvalue.c */ | ||||
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
คำอธิบายโปรแกรม
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.13 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.13 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
บรรทัดที่ 3 ประกาศฟังก์ชันที่มีการส่งค่า int ไป แต่ไม่มีการรับค่ากลับ ชื่อฟังก์ชัน add( )
บรรทัดที่ 4 ประกาศฟังก์ชันที่มีการส่งค่า float ไป แต่ไม่มีการรับค่ากลับ ชื่อฟังก์ชัน subtract( )
บรรทัดที่ 5 ประกาศฟังก์ชันที่มีการส่งค่า int และ float ไป แต่ไม่มีการรับค่ากลับ ชื่อฟังก์ชัน multiply( )
บรรทัดที่ 6 ประกาศฟังก์ชันที่มีการส่งค่า float และ int ไป แต่ไม่มีการรับค่ากลับ ชื่อฟังก์ชัน divide( )
บรรทัดที่ 12 เรียกใช้ฟังก์ชัน add( ) โดยส่งค่าตัวแปร x และ y ที่เป็น int ไป ซึ่งการทำงานของฟังก์ชันจะอยู่บรรทัดที่ 20 ถึง 25
บรรทัดที่ 13 เรียกใช้ฟังก์ชัน subtract( ) โดยส่งค่าตัวแปร z และ z + 4.5 ที่เป็น float ไป ซึ่งการทำงานของฟังก์ชันจะอยู่บรรทัดที่ 27 ถึง 32
บรรทัดที่ 14 เรียกใช้ฟังก์ชัน multiply( ) โดยส่งค่าตัวแปร y และ z ที่เป็น int และ float ไป ซึ่งการทำงานของฟังก์ชันจะอยู่บรรทัดที่ 34 ถึง 39
บรรทัดที่ 15 เรียกใช้ฟังก์ชัน divide( ) โดยส่งค่าตัวแปร z + 11.5 และ x ที่เป็น float และ int ไป ซึ่งการทำงานของฟังก์ชันจะอยู่บรรทัดที่ 41 ถึง 46
บรรทัดที่ 20 ถึง 25 เป็นการทำงานของฟังก์ชัน add( ) โดยบวกตัวเลข และแสดงผลออกจอภาพ
บรรทัดที่ 27 ถึง 32 เป็นการทำงานของฟังก์ชัน subtract( ) โดยลบตัวเลข และ แสดงผลออกจอภาพ
บรรทัดที่ 34 ถึง 39 เป็นการทำงานของฟังก์ชัน multiply( ) โดยคูณตัวเลข และ แสดงผลออกจอภาพ
บรรทัดที่ 41 ถึง 46 เป็นการทำงานของฟังก์ชัน divide( ) โดยหารตัวเลข และ แสดงผลออกจอภาพ
บรรทัดที่ 16 และ 17 พิมพ์ข้อความให้กดคีย์ใด ๆ เพื่อกลับสู่โปรแกรม และหยุดรอรับค่าใด ๆ เช่น กด enter จะกลับเข้าสู่โปรแกรม
โปรแกรมตัวอย่างที่ 7.14 แสดงการส่งค่า address ของตัวแปรชุดไปยังฟังก์ชันที่มีการส่งค่าไปแต่ไม่มีการรับค่ากลับ
/* padd.c */ | ||||
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
คำอธิบายโปรแกรม
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.14 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.14 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
บรรทัดที่ 3 คำสั่ง void address(int*); เป็นการประกาศรูปแบบฟังก์ชันที่มีการส่งค่าไปเป็นชนิด int* แต่ไม่มีการส่งค่ากลับ ซึ่งฟังก์ชันชื่อ address( )
บรรทัดที่ 8 คำสั่ง address(array); เป็นการเรียกใช้ฟังก์ชัน address( ) โดยส่งค่าตัวแปร array ไปให้ฟังก์ชัน ซึ่งฟังก์ชัน array อยู่คำสั่งบรรทัดที่ 13 ถึง 18
บรรทัดที่ 13 ถึง 18 ฟังก์ชัน address( ) รับค่าของ array มาแสดงผลออกจอภาพ โดยใช้คำสั่ง for วนลูปช่วยในการเข้าถึงข้อมูลใน array
บรรทัดที่ 9 และ 10 ภายหลังจากทำงานตามฟังก์ชัน address แล้ว ก็จะพิมพ์ข้อความให้กดคีย์ใด ๆ เพื่อกลับสู่โปรแกรม และหยุดรอรับค่าใด ๆ เช่น กด enter จะกลับเข้าสู่โปรแกรม
7.2.7 ฟังก์ชันที่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับ
ฟังก์ชันชนิดนี้เป็นฟังก์ชันที่ต้องมีชนิดและ argument ของฟังก์ชันส่วนในโครงสร้างของฟังก์ชันชนิดนี้จะต้องมีคำสั่ง return(value); เพื่อส่งค่ากลับด้วย ยกเว้นในกรณีที่ใช้ตัวแปรพอยน์เตอร์ (pointer) มาช่วยไม่ต้องมีคำสั่ง return(value); ก็ได้
1) การประกาศฟังก์ชันที่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับ
รูปแบบการประกาศฟังก์ชัน
type funct_name( type1, type2,….., typeN);
หรือ
type funct_name( type1 arg1, type2 arg2,….., typeN argN);
ตัวอย่างที่ 7.7 แสดงการประกาศฟังก์ชัน
int multiply(int, int);
float add(float, int);
int a(int*, int);
2) โครงสร้างของฟังก์ชันที่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับ
รูปแบบโครงสร้างของฟังก์ชัน
type funct_name( type1 arg1, type2 arg2,….., typeN argN);
{
local variable declaration;
statement(s);
return(value);
}
เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ฟังก์ชันที่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับมากยิ่งขึ้น ให้ศึกษาจากโปรแกรมตัวอย่าง 7.15 ถึง 7.17 ต่อไปนี้
โปรแกรมตัวอย่างที่ 7.15 แสดงการใช้งานฟังก์ชันที่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับที่มี argument เป็น int
/* rvaluef.c */ | ||||
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
คำอธิบายโปรแกรม
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.15 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.15 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
บรรทัดที่ 3 คำสั่ง int calculate (int, int); การประกาศรูปแบบฟังก์ชันที่มีการส่งค่า argument ไป 2 ตัว ชนิด int และ มีการส่งค่ากลับมายังฟังก์ชันเป็นชนิด int เช่นกัน โดยฟังก์ชันชื่อ caculate( )
บรรทัดที่ 8 คำสั่ง r = caculate (p, q); เป็นการเรียกใช้ฟังก์ชัน caculate( ) และส่งค่า p และ q ส่งไปให้ฟังก์ชันด้วย ตามลำดับ ซึ่งฟังก์ชัน caculate( ) อยู่คำสั่งบรรทัดที่ 13 ถึง 16
บรรทัดที่ 13 ถึง 16 ฟังก์ชัน caculate( ) โดยมีการทำงาน คือ นำค่าตัวแปร p และ q ที่ได้มาบวกกัน แล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้กลับไปให้ ณ จุดที่เรียกใช้ในฟังก์ชัน main( ) นั่นคือ ไปเก็บไว้ที่ตัวแปร r
บรรทัดที่ 9 แสดงค่าตัวแปร p, q และ r แสดงที่จอภาพ
บรรทัดที่ 10 และ 11 พิมพ์ข้อความให้กดคีย์ใด ๆ เพื่อกลับสู่โปรแกรม และหยุดรอรับค่าใด ๆ เช่น กด enter จะกลับเข้าสู่โปรแกรม
โปรแกรมตัวอย่างที่ 7.16 แสดงการใช้งานฟังก์ชันที่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับที่มี argument เป็นพอยน์เตอร์
/* cref.c */ | ||||
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
คำอธิบายโปรแกรม
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.16 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.16 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
บรรทัดที่ 3 คำสั่ง int change (int*, int*); การประกาศรูปแบบฟังก์ชันที่มีการส่งค่า ของตัวแปร 2 ตัวที่เป็นพอยน์เตอร์ และมีการส่งค่ากลับมายังฟังก์ชัน โดยฟังก์ชันชื่อ change( )
บรรทัดที่ 8 แสดงค่าตัวแปร p และ q ออกที่จอภาพ คือ p = 50 และ q = 100
บรรทัดที่ 9 คำสั่ง change (&p, &q); คำสั่งเรียกใช้ฟังก์ชัน change( ) โดยส่งค่า address ของ p และ q ไปยังฟังก์ชัน change( ) ด้วย ตามลำดับ ซึ่งฟังก์ชัน change( ) อยู่คำสั่งบรรทัดที่ 16 ถึง 22
บรรทัดที่ 16 ถึง 22 ฟังก์ชัน change( ) มีการทำงานโดยใช้ตัวแปรพอยเตอร์ในการสลับค่าตัวแปร p และ q ดังนั้น p = 100 และ q = 50
บรรทัดที่ 10 แสดงค่าตัวแปร p และ q ภายหลังจากที่สลับค่ากันแล้ว แสดงออกจอภาพ
บรรทัดที่ 11 ทำงานเหมือนคำสั่งบรรทัดที่ 9 ดังนั้น ภายหลังจากสลับค่ากันแล้ว จะได้ p = 50, q = 100
บรรทัดที่ 12 แสดงค่าตัวแปร p และ q ภายหลังจากที่สลับค่ากันอีกครั้ง แสดงออกจอภาพ
บรรทัดที่ 13 และ 14 พิมพ์ข้อความให้กดคีย์ใด ๆ เพื่อกลับสู่โปรแกรม และหยุดรอรับค่าใด ๆ เช่น กด enter จะกลับเข้าสู่โปรแกรม
โปรแกรมตัวอย่างที่ 7.17 แสดงการใช้งานฟังก์ชันที่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับ มี argument เป็นพอยน์เตอร์ 3 ตัว
/* calcu.c */ | ||||
ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
คำอธิบายโปรแกรม
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.17 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
จากโปรแกรมตัวอย่างที่ 7.17 สามารถอธิบายการทำงานของโปรแกรมที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
บรรทัดที่ 3 คำสั่ง void calcu(int*, int*, int*); ประกาศตัวรูปแบบฟังก์ชันที่มีการส่งค่า address ของตัวแปร 3 ตัวที่เป็นพอยน์เตอร์ ฟังก์ชันชื่อ calcu( )
บรรทัดที่ 8 คำสั่ง calcu(&a, &b, &c); คำสั่งที่มีการเรียกใช้ฟังก์ชัน calcu( ) โดยส่งค่า address ของ a, b และ c ไปยังฟังก์ชัน calcu( ) ตามลำดับ ฟังก์ชัน calcu( ) อยู่คำสั่งบรรทัดที่ 13 ถึง 18
บรรทัดที่ 13 ถึง 18 ฟังก์ชัน calcu( ) จะใช้ตัวแปรพอยเตอร์ในการคำนวณค่าของตัวแปรใหม่ โดย จะได้
ค่าของ a ที่ตัวแปรพอยเตอร์ *pa ชี้อยู่ เป็น 3 * 5 = 15
ค่าของ b ที่ตัวแปรพอยเตอร์ *pb ชี้อยู่ เป็น 10 + 10 = 20
ค่าของ c ที่ตัวแปรพอยเตอร์ *pc ชี้อยู่ เป็น 5 + 20 = 25
บรรทัดที่ 9 แสดงค่าตัวแปร a, b และ c ออกที่จอภาพ
บรรทัดที่ 10 และ 11 พิมพ์ข้อความให้กดคีย์ใด ๆ เพื่อกลับสู่โปรแกรม และหยุดรอรับค่าใด ๆ เช่น กด enter จะกลับเข้าสู่โปรแกรม
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น