ฟังก์ชันในภาษา C ที่กล่าวถึงมี 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1. ฟังก์ชันมาตรฐาน (standard functions) เป็นฟังก์ชันที่บริษัทที่ผลิตภาษา C ได้เขียนขึ้นและเก็บไว้ใน header file ภาษา C คือเก็บไว้ในแฟ้มที่มีนามสกุล *.h ต่าง ๆ ฟังก์ชันมาตรฐานที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
1.1 ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ (mathematic functions) เป็นฟังก์ชันที่ใช้สำหรับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ และก่อนที่จะใช้ฟังก์ชันประเภทนี้ จะต้องใช้คำสั่ง #include <math.h> แทรกอยู่ตอนต้นของโปรแกรม และตัวแปรที่จะใช้ฟังก์ชันประเภทนี้จะต้องมีชนิด (type) เป็น double เนื่องจากผลลัพธ์ที่ได้จากฟังก์ชันประเภทนี้จะได้ค่าส่งกลับของข้อมูลเป็น double เช่นกัน ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่สำคัญ เช่น
ฟังก์ชัน acos(x) เป็นฟังก์ชันที่ใช้คำนวณหาค่า arc cosine ของ x โดยที่ x เป็นค่ามุมในหน่วยเรเดียน (radian)
ฟังก์ชัน exp(x) เป็นฟังก์ชันที่ใช้หาค่า ex โดยที่ x เป็นค่าคงที่หรือตัวแปรที่จะใช้เป็นค่ายกกำลังของ e โดยที่ e มีค่าประมาณ 2.718282
ฟังก์ชัน log10(x) เป็นฟังก์ชันที่ใช้หาค่า log ฐาน 10 ของค่าคงที่หรือตัวแปร x โดยที่ x เป็นค่าคงที่หรือตัวแปรที่มีค่าเป็นลบไม่ได้
1.2 ฟังก์ชันเกี่ยวกับตัวอักษร (character functions) เป็นฟังก์ชันที่ใช้กับข้อมูลที่มีชนิดเป็น single char (ใช้เนื้อที่ 1 byte) เท่านั้น และก่อนที่จะใช้ฟังก์ชันประเภทนี้จะต้องใช้คำสั่ง #include<ctype.h> แทรกอยู่ตอนต้นของโปรแกรม จึงจะสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันประเภทนี้ได้ ฟังก์ชันเกี่ยวกับตัวอักษรที่สำคัญ เช่น isalnum(ch), isalpha(ch), isdigit(ch), islower(ch), isupper(ch), tolower(ch), toupper(ch),
isspace(ch), isxdigit(ch)
1.3 ฟังก์ชันเกี่ยวกับสตริง (string functions) เป็นฟังก์ชันที่ใช้กับข้อมูลชนิดสตริง (string) โดยก่อนที่จะใช้ฟังก์ชันประเภทนี้จะต้องใช้คำสั่ง #include<string.h> แทรกอยู่ตอนต้นของโปรแกรมเสียก่อน จึงจะเรียกใช้ฟังก์ชันประเภทนี้ได้ ฟังก์ชันเกี่ยวกับสตริงที่สำคัญ เช่น strlen(s), strcmp(s1,s2), strcpy(s), strcat(s1,s2)
1.4 ฟังก์ชันทั่วไปที่ใช้งานบ่อย ๆ เช่น
ฟังก์ชัน clrscr( ) เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการลบข้อมูลออกจากจอภาพแบบ text mode
ฟังก์ชัน gotoxy(x,y) เป็นฟังก์ชันที่ใช้คำสั่งให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ระบุไว้บนจอภาพ
ฟังก์ชัน sizeof(x) เป็นฟังก์ชันที่ใช้ตรวจสอบขนาดของตัวแปร x ว่ามีขนาดกี่ Byte
2. ฟังก์ชันที่เขียนขึ้น (user defined functions) ฟังก์ชันที่เขียนขึ้นหรือบางครั้งเราเรียกว่าโปรแกรมย่อย คือ ส่วนของโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างใดอย่างหนึ่งตามความต้องการ สำหรับผู้เขียนโปรแกรมภาษา C นิยมเรียกโปรแกรมย่อยว่า ”ฟังก์ชัน” ส่วนผู้ที่เขียนโปรแกรมภาษาปาสคาล โคบอล ฟอร์แทรน เบสิก นิยมเรียกว่า ”โปรแกรมย่อย” อย่างไรก็ตามโปรแกรมย่อยหรือฟังก์ชันก็มีลักษณะการทำงานเหมือนกันเพียงแต่เรียกชื่อต่างกันเท่านั้นสำหรับในเอกสารนี้จะเรียกว่า ฟังก์ชัน ซึ่งในเนื้อหาส่วนนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับฟังชันที่เขียนขึ้น (user define functions : UDF) ตั้งแต่การประกาศรูปแบบฟังก์ชัน การเขียนตัวฟังก์ชันและการเรียกใช้ฟังก์ชันเพื่อให้สามารถใช้ฟังก์ชันที่เขียนขึ้นในโปรแกรมภาษา C ได้อย่างถูกต้อง
ในการเขียนฟังก์ชันขึ้นมาใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เราสามารถจำแนกฟังก์ชันที่เขียนขึ้นตามลักษณะการส่งค่าไปและรับค่ากลับได้ 3 แบบ คือ
2.1 ฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งค่าไปและรับค่ากลับ
2.2 ฟังก์ชันที่มีการส่งค่าไปแต่ไม่มีรับค่ากลับ
2.3 ฟังก์ชันที่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับ
ซึ่งฟังก์ชันแต่ละแบบก็เหมาะกับงานแต่ละอย่าง ดังนั้นผู้เขียนฟังก์ชันจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาทำความเข้าใจฟังก์ชันแต่ละแบบ เพื่อจะได้มาประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างเหมาะสม
ในการเขียนฟังก์ชันขึ้นมาใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เราสามารถจำแนกฟังก์ชันที่เขียนขึ้นตามลักษณะการส่งค่าไปและรับค่ากลับได้ 3 แบบ คือ
2.1 ฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งค่าไปและรับค่ากลับ
2.2 ฟังก์ชันที่มีการส่งค่าไปแต่ไม่มีรับค่ากลับ
2.3 ฟังก์ชันที่มีทั้งการส่งค่าไปและรับค่ากลับ
ซึ่งฟังก์ชันแต่ละแบบก็เหมาะกับงานแต่ละอย่าง ดังนั้นผู้เขียนฟังก์ชันจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาทำความเข้าใจฟังก์ชันแต่ละแบบ เพื่อจะได้มาประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างเหมาะสม
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น