วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

06:54
บทที่  8
ข้อมูลแบบโครงสร้างและยูเนียน
            สำหรับในบทนี้จะกล่าวถึง  ข้อมูลแบบโครงสร้าง  (structures)  ซึ่งเป็นข้อมูลชนิดหนึ่งที่มีลักษณะสำคัญ  คือ  สามารถรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ  ชนิดเข้ามาเก็บไว้ด้วยกัน  เพื่อความสะดวกในการจัดการข้อมูลต่างชนิดกัน  และช่วยในการจัดเก็บข้อมูลแบบ  record  ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการแฟ้มข้อมูลต่อไป  ส่วนในตอนท้ายของบทนี้จะกล่าวถึงข้อมูลแบบยูเนียน(unions)  ซึ่งเป็นข้อมูลชนิดหนึ่งที่ทำให้เราสามารถใช้ตัวแปรหลาย ๆ  ชนิด  ภายในเนื้อที่เดียวกัน  ทำให้การใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำลดลง  และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
8.1 ความหมายและลักษณะของข้อมูลแบบโครงสร้าง
            ข้อมูลแบบโครงสร้าง  คือ  ข้อมูลชนิดหนึ่งที่เกิดจากการรวบรวมตัวแปรหลาย ๆ  ชนิดมาเก็บไว้ด้วยกัน  โดยเก็บไว้ภายใต้ชื่อโครงสร้าง  (structure  name)  เดียวกัน
ตัวอย่างที่  8.1  ต้องการเก็บข้อมูลของพนักงานแต่ละคนซึ่งประกอบด้วย  ชื่อพนักงาน  ตำแหน่ง  และเงินเดือน  จำนวน  10  คน
ดังนั้นข้อมูลของพนักงานคนที่ 1, 2, 3…, 10  จะมีโครงสร้างแฟ้มข้อมูลดังนี้  คือ
ตารางที่  8.1  แสดงโครงสร้างแฟ้มข้อมูลของพนักงาน
คนที่
ชื่อพนักงาน
(ตัวแปรตัวที่ 1)
ตำแหน่ง
(ตัวแปรตัวที่ 2)
เงินเดือน
(ตัวแปรตัวที่ 3)
1
2
3
….
10
นาย ก.
นาย ข.
นาย ค.
………
นาย ช.
ผู้จัดการทั่วไป
โปรแกรมเมอร์
นักวิเคราะห์ระบบ
………………….
นักบัญชี
20,000
10,000
12,000
……….
15,000
         

            จะเห็นว่าข้อมูลของพนักงานแต่ละคนจะมีตัวแปรทั้งหมด  3  ตัวแปร  คือ  ตัวแปรที่เก็บชื่อพนักงาน  ตัวแปรที่เก็บตำแหน่ง  และตัวแปรที่เก็บเงินเดือน  ตามลำดับ  ลักษณะเช่นนี้เราสามารถนำข้อมูลของพนักงานแต่ละคนมาจัดเป็นข้อมูลแบบโครงสร้างได้ดังนี้
          ตารางที่  8.2  แสดงข้อมูลแบบโครงสร้าง
ข้อมูล
(data)
ชื่อตัวแปร
(variable  name)
ชนิดตัวแปร
(type  of  variable)
ชื่อพนักงาน
ตำแหน่ง
เงินเดือน
emp_name
position
salary
string
string
integer(int)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น